Code สีสายไฟใหม่ สำหรับไฟฟ้าแรงดันต่ำ (230/400V) ของเมืองไทยตอนนี้เปลี่ยนใหม่แล้วรู้กันหมดหรือยัง
ทำไมต้องเปลี่ยนสีและมาตรฐานของสายไฟ
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสายไฟฟ้า โดยยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนโพลิไวนิลคลอไรด์ มอก.11-2531กำหนดมาตรฐานใหม่ เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์ เลขที่ มอก.11-2553 ซึ่งจะประกาศเป็นมาตรฐานบังคับต่อไป
โดยเหตุผลที่ทำการเปลี่ยนนั้น เนื่องจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์มีการประกาศใช้มานาน จึงปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มาตรฐานสายไฟ มอก.11-2553 ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว
การเปลี่ยนมาตรฐานและสีของสายไฟนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เปลี่ยนมาตรฐานเป็น มอก11_2553 ซึ่งต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดันและชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐาน IEC code ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และร่วมถึงประเทศที่อยู่นี้กลุ่ม AEC ด้วย เมื่อมีกฎหมายสีของฉนวนสายไฟชนิดตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีเปลี่ยน ตาม มอก.11-2553 นั้น แต่ในส่วนของสายไฟประเภท CV ซึ่งเป็นฉนวนประเภท XLPE นั้นผู้ผลิตได้ทำการเปลี่ยนให้เอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับ เพราะเห็นว่าจะทำให้มีสีไปในทางเดี่ยวกัน
ในเมื่อกฎหมายการผลิตสายไฟมีการเปลี่ยน ในส่วนของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) ซึ่งเป็น สถาบันอิสระที่ทำมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม ซึ่งรวมถึงมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับประเทศไทยด้วย ซึ่งมาตรฐานนี้ไม่ถือเป็นกฎหมายบังคับใช้ แต่หลายๆองค์กร เช่น การไฟฟ้า MEA ,PEA ร่วมทั้งกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานต่างๆ หรือแม้แต่ในกฎหมายบางมาตราเกี่ยวกับ พรบ. ควบคุมอาคาร ก็ได้นำมาตรฐานนี้มาอ้างอิงและบังคับใช้
ดังนั้นเมื่อมาตรฐานสายไฟมีการปรับปรุง ทางคณะกรรมการ ของ วสท. จึงถือโอกาสนี้ปรับปรุงมาตรฐานใหม่ให้มีมาตรฐานตรงกับมาตรฐานสายไฟใหม่และปรับปรุงเกี่ยวกับการหาขนาดกระแสของสายไฟ ร่วมถึงสายที่ใช้ในวงจรช่วยชีวิต และรายละเอียดปลีกย่อยต่างเพิ่มเติม ร่วมไปในครั้งนี้ด้วย เพื่อคำนึงถึงความปลอภัยในการติดตั้งและการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก นั้นจึงเป็นที่มาของการปรับปรุง มาตรฐาน วสท. ฉบับปี 2556 ครับ
มาตรฐานสายไฟฉบับใหม่ มอก.11-2553 เปลี่ยนCode สีสายไฟอะไรบ้าง
ในมาตรฐานสายไฟ มอก. 11-2553 ได้มีการกำหนดการระบุสีของแกนสายไฟฟ้า ว่าการแสดงด้วยสีจะต้องไม่เกิน 5 แกน และต้องหลีกเลี่ยงสี ขาว และแดง ซึ่งให้กำหนดรูปแบบสีดังนี้
1. สายแกนเดี่ยว : ไม่ระบุสี
2. สาย 2 แกน : ฟ้า ( N), น้ำตาล (L)
3. สาย 3 แกน : เขียวแถบเหลือง (G), ฟ้า ( N), น้ำตาล (L) หรือ น้ำตาล(L1), ดำ (L2), เทา(L3)
4. สาย 4 แกน : เขียวแถบเหลือง (G), น้ำตาล(L1), ดำ (L2), เทา(L3)
5. สาย 5 แกน : เขียวแทบเหลือง (G) ฟ้า ( N), น้ำตาล (L), ดำ (L2), เทา(L3)
และนอกจากนี้การกำหนด Code สีตามระบบเฟสนั้น จะต้องระบุเป็น
ระบบ 1 เฟส
สายเฟส ฉนวนต้องเป็น สีน้ำตาล
สายนิวทรัล ฉนวนต้องเป็น สีฟ้า
สายดิน ฉนวนต้องเป็น สีเขียวแถบเหลือง
ระบบ 3 เฟส
สายเฟส A ฉนวนต้องเป็น สีน้ำตาล
สายเฟส B ฉนวนต้องเป็น สีดำ
สายเฟส C ฉนวนต้องเป็น สีเทา
สายนิวทรัล ฉนวนต้องเป็น สีฟ้า
สายดิน ฉนวนต้องเป็น สีเขียวแถบเหลือง
Leave A Comment